บทท่องสอบวิชา 18 กาย สำหรับวิปัสสนาจารย์ โดยอาจารย์การุณย์ บุญมานุข
1. การบอกวิชาให้เห็นดวงธรรมและกายธรรมเบื้องต้น
**ใจเราต้องทำงานสองอย่างควบคู่กันไป คือ ท่องวิชาในใจและใจเราอีกใจทำงาน ตามที่เราท่อง**
ให้วิปัสสนาจารย์กล่าวนำวิชา เป็นคำพูดดังต่อไปนี้
ให้ท่านทั้งหลายกำหนดเครื่องหมายขาวใส เหมือนกับเพชรเม็ดลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่าแก้วตา น้อมเข้าไปฐานที่ 1 คือที่ ปากช่องจมูก ท่านหญิงน้อมเข้าทางปากช่องจมูกซ้าย ท่านชายน้อมเข้าทางปากช่องจมูกขวา ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 2 คือที่ เพลาตา ตรงรูน้ำตาออก ท่านหญิงเพลาตาซ้าย ท่านชายเพลาตาขวา ดวงใสเป็นนิมิตไม่ใช่วัตถุบรรจุลงไปได้ ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง”(3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 3 คือที่ จอมประสาท อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา พอเรานึก…น้อมเข้าไป ดวงนิมิตใสก็จะมาอยู่ตรงจุดหมายนี้เป็นอัตโนมัติ ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 4 คือ ที่ ปากช่องเพดาน หรือ เพดานปาก ตรงจุดหมายที่เคยสำลักน้ำสำลักอาหาร ถ้าอาหารและน้ำผ่านไปผ่านมาเราจะไม่สำลัก แต่ถ้าอาหารและน้ำมาหยุดตรงจุดหมายนี้ เราจะสำลักทันที ให้ท่านทั้งหลายอธิษฐานใจว่า “ณ ที่หนึ่งที่ใดที่ข้าพเจ้าเคยสำลักน้ำ สำลักอาหาร ขอให้ดวงใสไปหยุดตรงจุดหมายนั้นเถิด” เมื่ออธิษฐานใจแล้ว ดวงใสจะไปหยุดตรงจุดหมายนี้เป็นอัตโนมัติ ให้ท่านทั้งหลาย ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 5 คือที่ ปากช่องลำคอ อยู่ในหลอดลำคอของเรา คะเนว่าอยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่ง ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 6 คือ “ฐานของศูนย์กลางกาย” โบราณเรียกว่า สิบ อยู่ในท้องของเรา ให้ได้ระดับเดียวกับสะดือ คำว่าระดับเดียวกับสะดือนั้น หมายความว่า ให้สมมุติว่ามีเส้นด้ายเส้นหนึ่งแทงจากสะดือตัวเองทะลุหลังขึงตึง อีกเส้นหนึ่งแทงจากสีข้างขวาทะลุซ้ายขึงตึง ตัดกันเป็นรูปเครื่องหมายกากบาท ตรงจุดตัดนี้ จะอยู่ในท้องของเราได้ระดับเดียวกับสะดือพอดี น้อมเอาดวงใสไปไว้ตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
ต่อไป … เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 7 คือ “ศูนย์กลางกาย” เรียกย่อว่า “ศูนย์” นั่นคือ ยกดวงนิมิตใสให้สูงขึ้นมาจากฐานที่ 6 ประมาณ 2 นิ้วมือใครนิ้วมือท่าน โดยประมาณ ส่งใจสัมผัส นิ่ง ไปกลางดวงใส บริกรรมใจ“สัม มา อะ ระ หัง” ตลอดไป นึกให้ดวงใสสว่างโชติ
(ทิ้งช่วงเวลาสักระยะหนึ่ง แล้วจึงบอกวิชาต่อไป)*
คะเนว่าดวงใสหยุดนิ่งดีแล้ว ไม่ซัด ไม่ส่าย ไม่ไหว ไม่เคลื่อนแล้ว เราจะฉวยโอกาสนี้ อาราธนา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้มาสิงสถิตในกาย วาจา จิตของเราสืบไป จะได้น้ำ ได้เนื้อ ได้บุญเต็มส่วน ตรงจุดหมายนี้ พระองค์จะได้มาชูช่วยเราทั้งหลาย ได้เต็มกำลังของพระองค์เชียวนะ
ให้เราอธิษฐานใจพร้อมกันไป ครูพูดอย่างไร ให้ทุกท่านพูดเลียนตามไปในใจ ตรงกลางดวงใสในท้องของเรานะ
“ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระบรมศาสดาทั้งนิพพานกายธรรม ทั้งนิพพานเป็นของธรรมภาคขาวทั้งปวง ทั้งอดีต ทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต สุดที่จะนับจะประมาณได้ อีกทั้งจุลจักร มหาจักร บรมจักร และอุดมบรมจักร ของธรรมภาคขาวทั้งปวง ครบสี ครบสาย ครบกาย ครบองค์ ครบวงศ์ ครบชั้น ครบตอน ครบธาตุ ครบธรรม ทั้งอดีต ทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต สุดที่จะนับจะประมาณได้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งตัวข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด”
อาราธนาเสร็จแล้ว ให้ทุกท่านท่องเข้า “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง) นึกให้ดวงใสสว่างโชติอยู่ในท้องของเรานะ เห็นสว่างที่หน้าอย่าส่งใจไปดู เห็นสว่างที่หน้าอกอย่าส่งใจไปดู สว่างที่หน้าท้องอย่าส่งใจไปดู ให้ดูแต่ในท้องของเราเท่านั้นนะ ทำใจสบายๆ เหมือนใจของเด็กไร้เดียงสา ขั้นตอนนี้ไม่ต้องการใจของนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไม่ต้องการเหตุผล แต่ต้องการศรัทธาออกหน้าท่องเข้า “สัม มา อะ ระ หัง ๆๆ”นึกให้ดวงใสสว่างโชติขึ้น ที่ไม่ใสไม่สว่างอย่าไปนึก… ท่องเข้า“สัม มา อะ ระ หัง ๆๆ” นึกให้ดวงใสโชติช่วงขึ้น… ให้ปล่อยวางความขุ่นข้องหมองใจ กิจการงานธุระส่วนตัวออกให้หมด…ท่องเข้า “สัม มา อะ ระ หัง ๆๆ” พอนึก… ก็จะเห็นดวงใส ดวงใสนี้เกิดขึ้นแล้ว หมดขั้นตอนของ “สัม มา อะ ระ หัง” แล้ว
ให้สมมุติใจของเราเป็นปลายเข็มเย็บผ้า เข็มเย็บผ้านั้นคือใจของเรา ส่งเข็มใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “หยุดในหยุด ๆ ๆ” นึกให้เห็น จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม กลางดวงใส ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ “หยุดในหยุด” นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป
เกิดกายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระโสดา
ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระโสดา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ“หยุดในหยุด”
เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองเข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระโสดา ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นดวงธรรม
ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม
ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ “หยุดในหยุด” นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป
เกิดกายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระสกิทาคามี
ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองเข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่องใจ“หยุดในหยุด” เห็นดวงธรรม
ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม
ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ “หยุดในหยุด” นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป
เกิดกายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอนาคามี
ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอนาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองเข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระอนาคามี ท่องใจ“หยุดในหยุด” เห็นดวงธรรม
ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม
ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ “หยุดในหยุด” นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป
เกิดกายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอรหัตต์
ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอรหัตต์ ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองเข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด”
มองผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระอรหัตต์ ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นดวงธรรม
ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด” เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม
ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ “หยุดในหยุด ดับอธิษฐาน-ถอนปาฏิหาริย์ ถอนปาฏิหาริย์-ดับอธิษฐาน”
แล้วให้อธิษฐานใจที่จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกับกายธรรมพระอรหัตต์ “ขอให้กายธรรมพระอรหัตต์ช่วยต่อรู้ต่อญาณ ให้เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์ และเดินวิชา 18 กายได้โดยตลอด”
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมต่อใน >>> หนังสือทางรอดของมนุษย์มีทางเดียว หน้า 99
2. การบอกวิชา 18 กาย โดยวิธีอนุโลม
3. การบอกวิชา 18 กาย โดยวิธีปฏิโลม
4. การบอกวิชาเข้าหากายธรรมต้นธาตุ และเข้าพระนิพพานเบื้องต้น
**ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ 081-4965923