เหตุปัจจัยของความนึกคิด
๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๗
ข้อพึงสังเกต
การที่เราคิดอะไรนึกอะไรนั้น มีอะไรเป็นเหตุ? มีอะไรเป็นปัจจัย?
ความสำคัญของวันที่ ๒๘ ธันวาคม คืออะไร? จงบรรยาย
เป็นวันที่พระเจ้าตากสินกู้เอกราชกลับคืนมาได้ เป็นวันสถาปนาเป็นกษัตริย์ รายละเอียดทั้งปวง จงดูเล่ม ๒๗ หน้า ๒๖* แล้วจะทราบทั้งหมด
การนึกคิดอะไรของมนุษย์นั้น ธรรมภาคต่าง ๆ เป็นเหตุปัจจัยซึ่งมีอยู่ ๓ ภาค ธรรมทั้ง ๓ ภาค คือ ภาคขาว ภาคมาร และธรรมภาคกลาง (อัพพยากตาธัมมา)
ภาคขาว = คิดดี นึกดี เป็นกุศล
ภาคมาร = คิดร้าย นึกร้าย เป็นอกุศล
ภาคกลาง = คิดเป็นกลาง ๆ คิดไม่ดีและไม่ชั่ว นั่นเอง
วันหนึ่ง ๆ มนุษย์คิดนึกอะไร? จงสังเกตไว้
ถ้ามนุษย์ใจขาวใสสว่าง ก็คิดนึกสิ่งดีงามเป็นกุศลเป็นบุญ แต่ถ้าใจมนุษย์มีสภาพใจขุ่นใจมัว ก็นึกคิดสิ่งไม่ดีไม่งาม เป็นอกุศลเป็นบาป หากมนุษย์มีสภาพใจเป็นกลาง ๆ ก็นึกคิดแต่สิ่งที่ไม่เป็นกุศลและไม่เป็นอกุศล นั่นคือ สภาพใจเป็นกลาง ๆ ไม่ใช่บุญและก็ไม่ใช่บาป คือเป็นกลางระหว่างบุญและบาป จะว่าบุญก็ไม่ใช่ และจะว่าบาปก็ไม่ชัดเจน นั่นเอง จึงเรียกว่ากลาง ๆ คือไม่ดีแต่ก็ไม่ร้าย
เราเรียนเรื่องนี้ก็เพื่อให้ระวังใจ เพราะมารจะมาบังคับใจของเรา ไม่ให้ใจของเราจรดอยู่กับวิชา แต่จะมาบังคับใจของเราให้เบนไปในเรื่องไร้สาระร้อยแปด
จงสังเกตไว้! จงระวังไว้! นี่คือการเรียนรู้ที่ข้าพเจ้าจับได้ไล่ทัน!!!
หน้าที่ของมารเป็นอย่างนั้น งานของเขาเป็นเช่นนี้ การแก้ไขอยู่ที่เราพากเพียร ระวังใจเข้าไว้ ถ้าเราระวังไว้ มารก็ทำอะไรเราไม่ได้
สารพัดธาตุสารพัดธรรม
บัดนี้ธาตุธรรมไม่ใช่มี ๓ ประเภทตามความรู้เดิม เพิ่มธาตุธรรมขึ้นอีก ๑ ประเภทแล้ว คืออะไร?
เดิมธาตุธรรมมี ๓ ประเภท คือ
๑. ธรรมภาคขาว
๒. ธรรมภาคมาร
๓. ธรรมภาคกลาง
จากการปราบมาร ๒๐ ปี พบธาตุธรรมอีก ๑ ประเภท คือ
๔. ธรรมภาคสารพัดธาตุสารพัดธรรม ถ้าดูสีจะไม่ใช่ขาว ไม่ใช่ดำ ไม่ใช่ไม่ขาวและไม่ดำ สีจะเป็นสีอะไร?
สีจะเป็นแบบที่เราพูดว่า สารพัดมากมาย บรรยายไม่ถูก จึงเรียกว่า สารพัดธาตุสารพัดธรรม
อ่านเพิ่มเติมใน >>> หนังสือปราบมาร ภาค 6 หน้า 273