เราจะตายอย่างไร?
เราท่านมีหน้าที่ตาย ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถามว่าเราจะตายกันอย่างไร? เราไม่เรียนรู้กันเลย ครั้นความตายมาถึงจริง ๆ กลับเป็นว่าเรา “หลงตาย” คือขณะที่จะหมดลมหายใจ ใจเราเกาะยึดกุศลกรรมไม่ได้ นึกถึงบุญที่เราเคยทำไม่ได้ เคยทำบุญ เคยให้ทาน เคยรักษาศีล เคยฟังธรรม ขณะที่เวลาจวนเจียนเช่นนั้น เรานึกไม่ออก นึกไม่ได้ แต่กลับไปนึกออกถึงเรื่องบาปกรรมที่เราเคยทำ เมื่อนึกได้อย่างหนึ่ง อีกหลายอย่างจะนึกได้ตามกันมาไม่ขาดสาย ล้วนแต่เป็นบาปกรรมทั้งนั้น กรรมดีนึกไม่ได้ นึกได้แต่ที่ไม่ดี เป็นผลให้ผู้ตายไปสู่ทุคติ คือ ฝันร้ายตลอดไป อย่างนี้เรียกว่าหลงตาย เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น
เวลาเราไปงานศพ เห็นแขกผู้มีเกียรติ เห็นการประดับพวงหรีดแก่ศพ เป็นที่เชื่อว่า ผู้ตายมีความดีเป็นอันมาก ครั้งเราเข้าวิชาธรรมกายดู จึงทราบว่าผู้ตายไปสู่ทุคติเสียแล้ว รายที่ไปสู่สุคตินั้น มีเหมือนกัน แต่น้อยมาก
การฝึกพัฒนาใจที่ท่านกำลังศึกษาขณะนี้ ปิดอบายภูมิ นำผู้ปฏิบัติสู่คติภูมิสถานเดียว แม้ท่านยังทำไม่เป็น บริกรรม สัม มา อะ ระ หัง ไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ ท่านก็มีสิทธิไปสู่สุคติ ดังนั้น ท่านจึงสอนเวลาใกล้ตาย ให้นึกถึงผลศีล ทาน ภาวนา ไว้ อย่านึกถึงกรรมบาปที่เราเคยทำเป็นอันขาด เมื่อนึกถึงผลบุญ บุญก็เป็นชนกรรมให้ แต่ว่ากำลังไป ท่านจึงให้ยึดภาวนาเป็นสำคัญ
อย่ารีรอไปถึงวันตายเลย แม้ยังไม่ตาย ก็ซ้อมมือไว้ก่อนเป็นวิธีดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติมใน >>> ทางรอดของมนุษย์ฯ หน้า 174